การดูดเสมหะผู้ป่วยเจาะคอเจ็บไหมมีขั้นตอนอย่างไร 


การดูดเสมหะผู้ป่วยเจาะคอ

แน่นอนว่าสำหรับผู้ป่วยเจาะคอที่ไม่สามารถขับเสมหะเองได้จำเป็นต้องได้รับการดูดเสมหะ แต่ผู้ดูแลหลายคนอาจมีความกังวลว่าการดูดเสมหะผู้ป่วยเจาะคออาจเสี่ยงทำให้ผู้ป่วยเจ็บปวดหรือทรมานหรือไม่ หรือดูดผิดวิธีหรือเปล่า เราจะพาไปหาคำตอบ  

การดูดเสมหะผู้ป่วยเจาะคอเจ็บไหม 

คำตอบ คือ การดูดเสมหะผู้ป่วยเจาะคอไม่ทำให้เจ็บปวดหรือมีอาการเจ็บน้อยมากหากมีการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างถูกต้องและเคร่งครัด กรณีดูดแล้วเจ็บอาจเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น ปรับแรงดันเครื่องดูดเสมหะไม่เหมาะสม ใช้เวลาดูดนานเกินไป ใช้แรงในการสอดสายดูดเสมหะมากเกินไป และอื่น ๆ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าหากไม่ต้องการให้ผู้ป่วยได้รับความเจ็บปวดจากการดูดเสมหะจำเป็นต้องศึกษาวิธีการทำอย่างละเอียดและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดนั่นเอง 

วิธีดูดเสมหะ 

สำหรับวิธีการดูดเสมหะผู้ป่วยเจาะคอไม่ให้ผู้ป่วยเจ็บหรือทรมานมีขั้นตอน ดังนี้ 

1. เตรียมอุปกรณ์สำหรับดูดเสมหะ 

หลัก ๆ ประกอบไปด้วยเครื่องดูดเสมหะ สายดูดเสมหะ (กรณีเป็นผู้ใหญ่จะใช้เบอร์ 14 – 16) ถุงมือตรวจโรคทั่วไป สารหล่อลื่นหน้ากากอนามัย น้ำสะอาดหรือน้ำต้มสุก ถังขยะที่มีฝา  

2. เตรียมตัวก่อนดูดเสมหะ  

  • จัดเตรียมอุปกรณ์ไว้บริเวณหัวเตียงเพื่อให้ง่ายต่อการดำเนินการ 
  • ใช้เครื่องวัดความดันโลหิตเช็กความดันผู้ป่วย หากพบว่าความดันสูงควรให้ผู้ป่วยผ่อนคลายลงก่อนค่อยทำการดูด 

3. แจ้งแก่ผู้ป่วยว่ากำลังจะดูดเสมหะ 

  • จัดท่าทางให้เหมาะสมโดยศีรษะจะต้องเอียงสูง 15 – 30 องศาเพื่อป้องกันการสำลัก 
  • กระตุ้นให้ผู้ป่วยหายใจเข้าลึก ๆ ประมาณ 2 – 3 ครั้ง กรณีผู้ป่วยหายใจด้วยเครื่องช่วยหายใจควรให้ออกซิเจนความเข้มข้นสูงนาน 30 – 60 วินาทีก่อนดูด 

4. ล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาด 

  • ตามด้วยสวมอุปกรณ์ป้องกัน เริ่มจากถุงมือยางและหน้ากากอนามัย 
  • หยิบสายดูดเสมหะ ต่อเข้ากับสายจากเครื่องดูดเสมหะข้อควรระวัง คือห้ามไม่ให้สัมผัสกับสิ่งปนเปื้อน 
  • ใช้มือข้างที่ไม่ถนัดเปิดเครื่องดูดเสมหะโดยปรับแรงดัน 80 – 100 มิลลิเมตรปรอท  

5. เริ่มทำการดูเสมหะ  

ช่องทางการดูดเสมหะ 

สำหรับช่องทางการดูดเสมหะผู้ป่วยเจาะคอหลัก ๆ มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 ช่องทาง ได้แก่  

  • ดูดเสมหะทางท่อเจาะคอ  
  • ดูดเสมหะทางจมูก 
  • ดูดเสมหะทางปาก 

และสุดท้ายนอกเหนือจากการดูดเสมหะผู้ป่วยเจาะคอแล้วขั้นตอนการดูแลผู้ป่วยเจาะคอเองถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะมีส่วนช่วยในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ดูแลท่อลมคอให้อยู่กับที่ จัดท่าผู้ป่วยหายใจได้สะดวก หมั่นพลิกตัวผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมง ใช้แอลกอฮอล์ทำความสะอาดบริเวณข้อต่อต่าง ๆ ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังในการดูแลผู้ป่วย ฟังเสียงการทำงานของเครื่องช่วยหายใจ และหมั่นสังเกตอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหากพบว่ามีอาการผิดปกติใด ๆ ควรรีบพาผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล